ปัจจุบันพบว่าไม้ที่ส่งเข้าโรงเลื่อยส่วนใหญ่มีขนาดเล็กลงแต่มีศักยภาพในการแปรรูปให้มีมูลค่าสูงเทียบเท่า ไม้ซุงใหญ่ได้ในกระบวนแปรรูปในปัจจุบันด้วยเลื่อยสายพานแนวตั้งหรือแบบตั้งโต๊ะของไม้ขนาดดังกล่าวนั้นบริษัทยังประสบปัญหาเกี่ยวกับ 1) กระบวนการแปรรปู ได้ yield ค่อนข้างต่ำ (20-30% ขึ้นอยู่กับความชำ นาญ ของคนเลื่อย ความคดงอ และตาไม้เป็นสำคัญ) 2) เครื่องจักรอุปกรณ์ที่ใช้ในการแปรรูปไม้ยางในปัจจุบันนั้นต้องอาศัยคนงานที่มีความชำนาญในการแปรรูปไม้ยางและจะสญูเสียวัตถุดิบมากเมื่อผู้เลื่อยไม่ชำนาญ 3) การขาดแคลนแรงงานท่ีมีฝีมือในการเลื่อยตลอดถึงค่าแรงที่ปรับตัวสูงขึ้นส่งผลกระทบต่อต้นทุนในการผลิตไม้ยางแปรรูป และ 4) อันตรายจากการใช้เครื่องจักร เป็นต้น
เครื่องเลื่อยไม้ยางพาราแบบใหม่เพื่อลดการสูญเสียสำหรับไม้ขนาดเล็กถึงขนาดกลาง (5-8 นิ้ว) ที่พัฒนาแล้ว และสามารถขยายผลให้ใช้งานเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมเลื่อยไม้ยางและเฟอร์นิเจอร์ในอนาคตท่ีผ่านมานักวิจัย ได้สร้างต้นแบบเครื่องเลื่อยใหม่ โดยปรับปรุงและพัฒนาต่อยอดจากเครื่องเลื่อยไม้ยางพาราจากต่างประเทศให้ เหมาะกับสำหรับเลอื่ยไมย้างพาราขนาดเลก็-กลางสำหรับลดการสญูเสียเนื้อไม้และลดต้นทุนการผลิตนอกจากสามารถเลื่อยไม้ยางพาราได้แล้วยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับไม้ประเภทอื่นๆ ได้อีกด้วย
กลุ่มอุตสาหกรรม
เครื่องจักร/โลหะการ/ชิ้นส่วยยานยนต์
ประเภททรัพย์สินทางปัญญา
อนุสิทธิบัตร
เลขที่คำขอ
1303000667
วันที่ยื่นคำขอ
14/06/2556
เลขทะเบียน
เครื่องเลื่อยไม้ยางพารา
ผู้ทรงสิทธิ
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
แหล่งทุน
-
ผู้ประดิษฐ์ และหน่วยงานต้นสังกัด
วิริยะ ทองเรือง
ดิเทพ สงรักษา
นิติ เพชรสุวรรณ
จุดเด่นนวัตกรรม
เครื่องเลื่อยไม้ยางพาราแบบใหม่เพื่อลดการสูญเสียสามารถเลื่อยไม้ได้หลายขนาดไม่ต้องอาศัยแรงงานที่มี ความชำนาญสูงในการเลื่อยลดจำนวนเครื่องเลื่อยลดระยะเวลาในการเลื่อย ลดการสูญเสียเนื้อไม้ ส่งผลให้ลดต้นทุนในการผลิตของโรงงาน
คีย์เวิร์ด
-
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 11/39/2560