วัสดุรองรับแรงกดทับอวัยวะผู้ป่วยขณะผ่าตัด ที่ผลิตจากพอลิเมอร์หุ้มยางพาราและกระบวนการผลิตวัสดุรองรับนี้
ผลิตภัณฑ์ชนิดนี้เกิดจากงานวิจัยที่นำมาต่อยอดเชิงพาณิชย์
เกี่ยวกับวัสดุรองรับแรงกดทับอวัยวะผู้ป่วยขณะผ่าตัด
ที่ผลิตจากพอลิเมอร์หุ้มยางพาราและกระบวนการผลิตวัสดุรองรับ
ซึ่งสามารถปรับความยืดหยุ่นได้ตามแรงกดทับ
และปรับความนิ่มของเจลให้เหมาะกับการใช้งาน
เพื่อช่วยลดการเกิดแผลกดทับได้ดี
สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง
งานวิจัยรองรับในประสิทธิภาพของการลดภาวะการกดทับ
มีความน่าเชื่อถือมากกว่าคู่แข่งขัน หากผลิตภัณฑ์เกิดความชำรุดหรือเสียหาย
สามารถใช้ Medigel
Healing ในการซ่อมแซมเบื้องต้น มีความคงทน หากใช้อย่างถูกวิธี
โดยผลิตภัณฑ์นี้มีแนวคิดและที่มาของการประดิษฐ์มาจากการที่วิสัญญีแพทย์ประสบปัญหาจากการทํางานประจําวัน
เนื่องจากผู้ป่วยที่มาดมยาสลบและผ่าตัดที่ต้องนอนนิ่งในท่าเดิมเป็นเวลานาน
โดยเฉพาะหากผ่าตัดนานมากกว่า 2 ชัวโมง จะเกิดความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับขึ้น
ทําให้การดูแลรักษายุ่งยาก เสียค่าใช้จ่ายมากยิ่งขึ้นในการดูแลรักษา
ซึ่งจากข้อมูลของประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่าค่าใช้จ่ายในการรักษาแผลกดทับสูงถึง
11,000 ล้านเหรียญต่อปี และมีผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยภาวะแทรกซ้อนจากแผลกดทับถึง 60,000
รายต่อปี และถึงแม้สามารถรักษาแผลหาย
ผิวหนังบริเวณนั้นจะเกิดการหดตัวเป็นแผลเป็นขนาดใหญ่คล้ายคนพิการได้
ซึ่งปัญหาเรื่องแผลกดทับ
เป็นปัญหาใหญ่ของระบบสาธารณสุขของทุกประเทศดังนั้นการป้องกันการเกิดแผลกดทับ
ย่อมได้ประโยชน์มากกว่าการรักษา สําหรับประเทศไทยการที่จะจัดซื้อวัสดุในการกระจายแรงกดต้องนําเข้าจากต่างประเทศทั้งหมด
และมีราคาสูง
ทางผู้ประดิษฐ์จึงพยายามคิดค้นวัสดุทดแทนที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับวัสดุนําเข้าเพื่อสามารถลดปัญหาให้แก่ผู้ป่วยได้
อย่างมีประสิทธิภาพ และลดค่าใช้จ่ายในการนําเข้าสินค้าจากต่างประเทศมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
เป็นมหาวิทยาลัยเพื่อชุมชนชาวใต้ ซึ่งมีอาชีพและรายได้หลักจากการทําสวนยางพารา
ซึ่งประเทศไทยส่งออกยางดิบและน้ำยางเป็นปริมาณมาก ประกอบกับน้ำยางที่ได้เป็นน้ำยางคุณภาพสูง
เหมาะแก่การนํามาเพิ่มมูลค่า โดยกระบวนการปรับโมเลกุลให้สามารถกระจายแรงดันกดทับได้ดี
ช่วยป้องกัการเกิดแผลกดทับเป็นการเพิ่มมูลค่ายางพาราให้กลายเป็นวัสดุทางการแพทย์
และเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรที่ปลูกพืชเศรษฐกิจทีสําคัญของภาคใต้และจากการออกแบบกระบวนการผลิตอย่างรัดกุม
ทําให้วัสดุนี้ สามารถสร้างรูปแบบผลิตภัณฑ์ได้หลากหลายเพื่อให้เหมาะสมต่อการใช้งาน
เช่น การออกแบบรูปทรงให้เหมาะสมในการรองรับอวัยวะต่างๆ
ทําให้สามารถขยายผลการใช้งานไปสู่กลุ่มลูกค้าอื่นนอกเหนือจากทางการแพทย์ เช่นกลุ่มสปา
และคนรักสุขภาพต่างๆ อีกทั้ง ยังสามารถขยายรูปแบบการผลิตสู่อุตสาหกรรมที่นอน
เบาะรองนั่งในรถยนต์ หรือรองเท้ากีฬา เป็นต้น
กลุ่มอุตสาหกรรม
ยาง/ผลิตภัณฑ์ยาง
ประเภททรัพย์สินทางปัญญา
สิทธิบัตรการประดิษฐ์
เลขที่คำขอ
0901004832
วันที่ยื่นคำขอ
02/02/2552
เลขทะเบียน
-
ผู้ทรงสิทธิ
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
แหล่งทุน
-
ผู้ประดิษฐ์ และหน่วยงานต้นสังกัด
- นลินี โกวิทวนาวงษ์ ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
- ณัฐพงศ์ นิธิอุทัย ภาควิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาเขตปัตตานี
จุดเด่นนวัตกรรม
1.สิ่งประดิษฐ์นี้มีงานวิจัยรองรับผลของการใช้งานว่ามีประสิทธิภาพในการป้องกันการเกิดแผลกดทับ โดยมีการทดสอบด้วยเครื่องมือ Flexforce พบว่าสามารถลดแรงกดทับลงได้ถึงร้อยละ 50 และเมื่อนำไปใช้กับผู้ป่วยผ่าตัดจริง พบว่าไม่มีผู้ป่วยรายใดเกิดแผลกดทับ
2.ในกระบวนการผลิต สามารถขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย ตามความเหมาะสมของการใช้งานทําให้สามารใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ทีผู้บริโภคต้องการ
3.เนื่องจากสามารถผลิตได้เองในประเทศไทย ราคาจึงย่อมเยากว่าสินค้าทีนําเข้าจากต่างประเทศ
4.ข้อได้เปรียบของวัสดุห่อหุ้มยางพาราคือ สามารถซ่อมแซมได้เมื่อเกิดการฉีกขาด
5.หากวัสดุเกิดความเสียหายอย่างรุนแรง สามารถนํามา Recycle ใหม่ได้
คีย์เวิร์ด
หมอนเจล
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 11/34/2560