วัสดุปิดแผลที่ได้จากเซลลูโลสที่ผลิตจากแบคทีเรียผสมสารชีวภาพ
วัสดุปิดแผลที่ได้จากเซลลูโลสที่ผลิตจากแบคทีเรียผสมสารชีวภาพจากเชื้อแลกโตบาซิลลัส แรมโนซัส จีจี เอทีซีซี 53103 (Lactobacillus rhamnosus GG ATCC 53103) และกรรมวิธีการผลิตผลิตภัณฑ์ดังกล่าวตามการประดิษฐ์นี้ เป็นการสร้างวัสดุปิดแผลที่เตรียมจากเส้นใยเซลลูโลสที่ผลิตจากแบคทีเรียใส่สารชีวภาพที่ผลิตจากเชื้อแลกโตบาซิลลัส แรมโนซัส จีจี เอทีซีซี 53103 (Lactobacillus rhamnosus GG ATCC 53103) ซึ่งมีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อก่อโรคและช่วยสมานแผล โดยมีส่วนประกอบหลัก คือ เส้นใยเซลลูโลสที่ผลิตจากแบคทีเรีย สารชีวภาพที่ผลิตจากเชื้อแลกโตบาซิลลัส แรมโนซัส จีจี เอทีซีซี 53103 (Lactobacillus rhamnosus GG ATCC 53103) และสารเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับวัสดุปิดแผล นำมาผ่านกระบวนการผลิตตามวิธีการที่ได้คิดค้นขึ้น จนได้เป็นวัสดุปิดแผลที่ทำจากเซลลูโลสที่ผลิตได้จากแบคทีเรียผสมสารชีวภาพจากเชื้อแลกโตบาซิลลัส แรมโนซัส จีจี เอทีซีซี 53103 (Lactobacillus rhamnosus GG ATCC 53103)
กลุ่มอุตสาหกรรม
ยา/สมุนไพร/เทคโนโลยีชีวภาพพ/วิทยาศาสตร์ทางการแพทย์
ประเภททรัพย์สินทางปัญญา
อนุสิทธิบัตร
เลขที่คำขอ
1603002034
วันที่ยื่นคำขอ
22/09/2559
เลขทะเบียน
-
ผู้ทรงสิทธิ
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
แหล่งทุน
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ผู้ประดิษฐ์ และหน่วยงานต้นสังกัด
รศ.ดร. เสน่ห์ แก้วนพรัตน์
จุดเด่นนวัตกรรม
วัสดุปิดแผลที่ได้จากเซลลูโลสที่ผลิตจากแบคทีเรียผสมสารชีวภาพจากเชื้อแลกโตบาซิลลัส แรมโนซัส จีจี เอทีซีซี 53103 (Lactobacillus rhamnosus GG ATCC 53103) และกรรมวิธีการผลิตผลิตภัณฑ์ดังกล่าวตามการประดิษฐ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นวัสดุทางการแพทย์ที่ช่วยป้องกันและรักษาการติดเชื้อต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ และช่วยในการสมานแผลให้หายเร็วยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยลดการนำเข้าวัสดุปิดแผลที่มีราคาแพงจากต่างประเทศได้อีกด้วย
คีย์เวิร์ด
-
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 29/54/2560