ชุดตรวจสอบหาปริมาณฟอร์มาลินในอาหารแบบแผ่นฟิล์มจากพอลิเมอร์ชีวภาพ
ปัจจุบันพบการนำฟอร์มาลินมาใช้ในทางที่ผิด
เช่น นำมาใช้เพื่อรักษาความสดของอาหารทะเล เนื้อสัตว์ ผักและผลไม้
ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีผลกระทบด้วยการตกค้างในสิ่งแวดล้อม และเป็นอันตรายต่อมนุษย์
ทางผู้วิจัยจึงมีแนวคิดการวิจัยเพื่อผลิตชุดตรวจหรือวิธีวัดปริมาณสารฟอร์มาลินในเบื้องต้น
ใช้สำหรับทดสอบหาปริมาณสารฟอร์มาลินในอาหาร ที่สามารถให้ผลการทดสอบอย่างรวดเร็ว
ไม่ซับซ้อน มีความแม่นยำที่ยอมรับได้
ชุดตรวจสอบหาปริมาณสารฟอร์มาลินในอาหารแบบแผ่นฟิล์มจากพอลิเมอร์ชีวภาพ
(สังเคราะห์ได้จากแป้งมันสำปะหลัง) เริ่มต้นด้วยการสร้างแผ่นฟิล์มพอลิเมอร์
นำมาเติมสารที่สามารถเกิดปฏิกิริยากับฟอร์มาลดีไฮด์ (ฟอร์มาลิน)
และปรับสภาวะในการทำปฏิกิริยาด้วยการเติม สารอะซิโตน สารแอมโมเนียมอะซิเตรท
และกรดอะซิติก ผสมจนเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วนำไปสารผสมทั้งหมดไปละลายใน ภาชนะบรรจุ โดยการทดสอบปริมาณสารฟอร์มาลินนี้จะทำการทดสอบโดยการเติมสารละลายตัวอย่างเข้าไปและสังเกตการเปลี่ยนสี
ซึ่งสามารถเปรียบเทียบความเข้มของสีที่เกิดขึ้นกับแถบสีมาตรฐานที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มของสีและปริมาณฟอร์มาลดีไฮด์จากสารละลายมาตรฐาน
กลุ่มอุตสาหกรรม
อาหาร
ประเภททรัพย์สินทางปัญญา
อนุสิทธิบัตร
เลขที่คำขอ
1703001224
วันที่ยื่นคำขอ
07/07/2560
เลขทะเบียน
-
ผู้ทรงสิทธิ
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
แหล่งทุน
-
ผู้ประดิษฐ์ และหน่วยงานต้นสังกัด
วรวิทย์ วงศ์นิรามัยกุล
อารีย์ ชูดำ
วัชรวดี ลิ่มสกุล
วิลาสินี ศรีพรหม คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม วิทยาเขตภูเก็ต
จุดเด่นนวัตกรรม
ใช้สำหรับทดสอบหาปริมาณสารฟอร์มาลินในอาหาร
ที่สามารถให้ผลการทดสอบอย่างรวดเร็ว ไม่ซับซ้อน มีความแม่นยำที่ยอมรับได้
ต้นทุนการผลิตต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการตรวจวัดฟอร์มาลินวิธีการอื่นๆ
คีย์เวิร์ด
-
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 22/18/2560