โฟมยางที่มีส่วนประกอบของสารล่อแมลง
ในการเพาะปลูกผลไม้ทางเศรษฐกิจที่สำคัญ
ของเกษตรกรในพื้นที่ในหลายประเทศทั่วโลกทั้งในเขตอบอุ่น เขตกึ่งร้อน และเขตร้อน
จะมีแมลงวันผลไม้ (Tephritidae) ซึ่งเป็นแมลงศัตรูพืชที่สามารถเข้าทำลายได้ เช่นผลไม้ที่มีผิวเปลือกบาง (ฝรั่ง
มะม่วง กล้วย มะละกอกระท้อน แก้วมังกร ชมพู่) พืชผัก และไม้ดอกบางชนิด เป็นต้น
เพื่อลดความเสียหายของผลผลิตจากการเข้าทำลายของแมลงวันผลไม้
เกษตรกรต้องมีการจัดการ
ควบคุมประชากรของแมลงวันผลไม้ในพื้นที่ให้มีปริมาณที่ลดลง
ด้วยการใช้สารล่อที่ใช้ดึงดูดแมลงวันผลไม้ (B. dorsalis) คือ สารเมทิลยูจินอล (methyl eugenol) (1,2-dimethoxy-4-(2-propenyl)benzene) ดมีคุณสมบัติในการดึงดูดแมลงวันผลไม้เพศผู้
และสามารถช่วยลดจำนวนประชากรของแมลงวันผลไม้เพศผู้ในธรรมชาติให้มีจำนวนลดลง
แต่เนื่องจากสารดังกล่าว ระเหยได้ง่ายจึงไม่สามารถคงอยู่ในสภาพแวดล้อมได้ยาวนาน
เนื่องจากยางธรรมชาติหาได้ง่ายในประเทศไทย
อีกทั้งมีราคาถูก สามารถขึ้นรูป กำหนดขนาดรูพรุนได้ ผู้วิจัยจึงนำมาผสมกับสารเมทิลยูจินอล
ทำให้ได้โฟมยางธรรมชาติสำหรับกักเก็บและช่วยชะลอการปลดปล่อยสารล่อแมลงเมทิลยูจินอล
คิวลัวร์ และลาติลัวร์ เพื่อนำไปใช้ในการดึงดูดและควบคุมแมลงวันผลไม้
รายละเอียดโดยย่อ: เป็นโฟมยางธรรมชาติที่รูพรุนสูง ที่ทำหน้าที่กักเก็บและชะลอการปลดปล่อยสารล่อแมลงวันผลไม้
ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วน ดังนี้คือ 1) โฟมยางที่มีสารล่อแมลง 2) เป็นโฟมยางที่มีความพรุนสูง
โดยโฟมยางที่มีสารล่อแมลงถูกเคลือบด้วยฟิลม์ยางเพื่อบังคับการปลดปล่อยสาร เป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับเกษตรกร
ในการควบคุมประชากรแมลงวันผลไม้และลดความเสียหายของผลผลิตในพื้นที่สวนของเกษตรกรรม
กลุ่มอุตสาหกรรม
การแปรรูปเกษตร/เกษตรกรรม/ประมง
ประเภททรัพย์สินทางปัญญา
อนุสิทธิบัตร
เลขที่คำขอ
1703000670
วันที่ยื่นคำขอ
05/04/2560
เลขทะเบียน
-
ผู้ทรงสิทธิ
คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
แหล่งทุน
-
ผู้ประดิษฐ์ และหน่วยงานต้นสังกัด
1. นายนริศ ท้าวจันทร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ ม.อ.
2. นายอรัญ งามผ่อนใส คณะทรัพยากรธรรมชาติ ม.อ.
3. นางสาวยาวารีย๊ะห์ สาเมาะ คณะทรัพยากรธรรมชาติ ม.อ.
4. นางสาวคอฏีย๊ะ เถาวัลย์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ ม.อ.
5. นางสาวรูเฟียะห์ มะลี คณะทรัพยากรธรรมชาติ ม.อ.
6. นายเอกวิภู กาลกรณ์สุรปราณี คณะวิทยาศาสตร์ ม.อ.
7. นางนิธินาถ แซ่ตั้ง คณะวิทยาศาสตร์ ม.อ.
8. นางสาวธีรรัตน์ เส้งสุก คณะวิทยาศาสตร์ ม.อ.
จุดเด่นนวัตกรรม
1. การปลดปล่อยสารได้สม่ำเสมอและยาวนาน
2. ราคาถูกกว่ารูปแบบอื่นๆ
3. สามารถดัดแปลงใส่สารชนิดอื่น
เพื่อล่อแมลงชนิดอื่นๆได้
คีย์เวิร์ด
-
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 30/02/2561