กรรมวิธีการสังเคราะห์ผงวาเนเดียมไดออกไซด์ที่สามารถเปลี่ยนสีได้เมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนแปลง
ปัจจุบันโลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น
คนจึงอาศัยเครื่องทำความเย็นต่าง ๆ ในการช่วยลดอุณหภูมิ ซึ่งทำให้มีการใช้พลังงานที่สูง
จึงได้มีการคิดค้นเทคโนโลยีต่าง ๆ ในการประหยัดพลังงาน และหนึ่งในนั้นคือการอาศัยคุณสมบัติของสารวาเนเดียมไดออกไซด์
ที่สามารถเปลี่ยนสีและโครงสร้างได้ โดยเมื่ออุณหภูมิต่ำกว่า 67 องศาเซลเซียส จะมีสมบัติเป็นสารกึ่งตัวนำ และจะเปลี่ยนสมบัติเป็นโลหะเมื่ออุณหภูมิสูงกว่า
67 องศาเซลเซียส โดยโครงสร้างผลึกจะเปลี่ยนเป็นเตตระโกนอล
หรือเรียกอีกชื่อว่า รูไทล์ ด้วยสมบัติดังกล่าวนี้ ที่มีความคงทน
และเสถียรต่อการเปลี่ยนแปลงที่อุณหภูมิสูง จึงเหมาะแก่การทำสีทาอาคาร
สีทากระเบื้อง ที่ได้รับความร้อนโดยตรงจากธรรมชาติ แต่ทั้งนี้การเตรียมสารวาเนเดียมไดออกไซด์ในปัจจุบัน
มีความซับซ้อนและยุ่งยาก ต้นทุนในการผลิตสูง
อีกทั้งอุณหภูมิจุดเดือดที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนโครงสร้างยังสูงอยู่
ยากแก่การใช้งานให้เกิดประสิทธิภาพจริง
งานวิจัยนี้จึงได้คิดค้นเพิ่มเติมโดยการนำวาเนเดียมไดออกไซด์เจือกับทังสเตน
ทำให้การเปลี่ยนโครงสร้างเกิดขึ้นได้ที่อุณหภูมิต่ำลง
ส่งผลให้การประยุกต์ใช้งานทำได้ดีขึ้น และลดการใช้พลังงานลง อีกทั้งกระบวนการสังเคราะห์สารวาเนเดียมไดออกไซด์เจือกับทังสเตน
ไม่ซับซ้อนสะดวกแก่การใช้งาน ลดเวลาในการสังเคราะห์ ประหยัดค่าใช้จ่ายเพราะใช้สารในปริมาณที่น้อยลง
รายละเอียดโดยย่อ: เม็ดสีเทอร์โมโครมิกของผงวาเนเดียมไดออกไซด์เจือทังสเตน
ผลิตโดยทำการผสมผงแอมโมเนียมเมตาวานาเดทกับน้ำกลั่น จากนั้นผสมกับแอมโมเนียม พารา
ทังสเตท และเติมกรดออกซาลิก ให้ความร้อนเพื่อให้เกิดอนุภาคผง
จากนั้นนำไปเผาภายใต้บรรยากาศไนโตรเจน
จะได้ผงวาเนเดียมไดออกไซด์เจือทังสเตนที่มีลักษณะเป็นผงสีน้ำเงินเข้ม
มีโครงสร้างเป็นโมโนคลินิก และสามารถเปลี่ยนโครงสร้างเป็นรูไทล์ได้ตั้งแต่อุณหภูมิ
40
องศาเซลเซียส
เม็ดสีเทอร์โมโครมิกของผงวาเนเดียมไดออกไซด์เจือทังสเตน
สามารถนำไปใช้เป็นส่วนผสมร่วมกับสารซิงค์ออกไซด์และสีทาอาคาร
เพื่อพัฒนาให้สามารถสะท้อนความร้อนได้มากขึ้น
กลุ่มอุตสาหกรรม
พอลิเมอร์/ปิโตรเลียม/เคมีภัณฑ์/เซรามิก
ประเภททรัพย์สินทางปัญญา
อนุสิทธิบัตร
เลขที่คำขอ
1303000303
วันที่ยื่นคำขอ
15/03/2556
เลขทะเบียน
9724
ผู้ทรงสิทธิ
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
แหล่งทุน
-
ผู้ประดิษฐ์ และหน่วยงานต้นสังกัด
- เล็ก สีคง ภาควิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
- พัชรี เพิ่มพูน
จุดเด่นนวัตกรรม
-
คีย์เวิร์ด
-
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 20/10/2560