กรรมวิธีการผลิตออโตโลกัส ดีมินเนอร์ราไลซ์ทูธเมทริกซ์ (Autologous Demineralized Tooth Matrix) และผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกรรมวิธีการผลิตดังกล่าว
การรักษารอยวิการของกระดูกสันเหงือกที่เกิดภายหลังการสูญเสียฟันด้วยสาเหตุต่างๆ
เช่น อุบัติเหตุ โรคปริทันต์ หรือการละลายตัวของกระดูกสันเหงือกในผู้สูงอายุ
มักต้องอาศัยการปลูกกระดูกที่ได้จากกระดูกปลูกจากตัวผู้ป่วยเอง (autogenous bone
graft) ซึ่งต้องอาศัยการผ่าตัดเพื่อนำกระดูกกระดูกปลูกจากตำแหน่งอื่น
ๆ ในร่างกายมาใช้ อันเป็นการก่อให้เกิดการบาดเจ็บและความไม่สบายกับผู้ป่วย
ในระยะต่อมามีการพัฒนาวัสดุทดแทนกระดูกเพื่อลดการใช้กระดูกปลูกจากตัวผู้ป่วยเอง
โดยวัสดุทดแทนกระดูกในอุดมคติต้องมีคุณสมบัติที่สำคัญคือ มีโปรตีนที่มีคุณสมบัติชักนำให้เกิดการเหนี่ยวนำให้มีการสร้างกระดูกใหม่
มีความสามารถในการเป็นโครงร่างสำหรับการสร้างหลอดเลือดและการยึดเกาะและการเจริญเช้ามาของเซลล์สร้างกระดูก
(osteoblast cells) สามารถส่งเสริมให้เกิดการสะสมแร่ธาตุ (extracellular
matrix) และสามารถสลายตัวได้ด้วยกระบวนการทางชีวภาพในระยะเวลาที่เหมาะสมเพื่อให้กระดูกใหม่สร้างขึ้นมาทดแทนโครงร่างค้ำจุนของวัสดุทดแทนกระดูก
โดยไม่ทำให้มีการสูญเสียมิติของรอยวิการที่ทำการบูรณะ ในปัจจุบันวัสดุเหนี่ยวนำการสร้างกระดูกฟันที่ทันตแพทย์นิยมใช้มีราคาสูง
โดยวัสดุเหนี่ยวนำการสร้างกระดูกฟันปริมาณ 0.25 กรัมราคา 4,577 บาท
นอกเหนือจากกระดูก
ฟันเป็นอวัยวะที่มีคุณสมบัติทั้งสัดส่วนของสารอินทรีย์ (organic) และสารอนินทรีย์ (inorganic)
รวมถึงโปรตีนที่มีคุณสมบัติในการเหนี่ยวนำให้เกิดการสร้างกระดูกใหม่เป็นองค์ประกอบ
ซึ่งฟันเมื่อนำออกจากร่างกายผู้ป่วยแล้วถือเป็นของเสียทางการแพทย์ (bio-medical waste)ที่ต้องผ่านกระบวนการจัดการอย่างเป็นระบบ
รายละเอียดโดยย่อ: การผลิตออโตโลกัส ดีมินเนอร์ราไลซ์ทูธเมทริกซ์ ที่เตรียมจากฟันของผู้ป่วยเอง
โดยภายหลังการถอนฟัน ฟันจะถูกนำมากำจัดเนื้อเยื่อโพรงสาทฟันและเนื้อเยื่อปริทันต์
ลดขนาดภายใต้ความเย็นด้วยเครื่องฟรีซเซอร์มิลล์ (freezer mill) นำผงฟันที่ได้มาปรับปรุงคุณสมบัติทางเคมีกายภายด้วยการลดปริมาณแร่ธาตุ
(demineralized) ลดไขมัน (defatted) ทำให้แห้งแบบเยือกแข็ง
(lyophilized) และทำให้ปราศจากเชื้อด้วยก๊าซเอธิลีนออกไซด์ (ethylene
oxide)
กลุ่มอุตสาหกรรม
ยา/สมุนไพร/เทคโนโลยีชีวภาพพ/วิทยาศาสตร์ทางการแพทย์
ประเภททรัพย์สินทางปัญญา
อนุสิทธิบัตร
เลขที่คำขอ
1703001225
วันที่ยื่นคำขอ
14/09/2559
เลขทะเบียน
-
ผู้ทรงสิทธิ
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
แหล่งทุน
-
ผู้ประดิษฐ์ และหน่วยงานต้นสังกัด
. รศ.ดร.ศรีสุรางค์ สุทธปรีนาศรี คณะทันตแพทยศาสตร์
จุดเด่นนวัตกรรม
1. สามารถลดค่าใช้จ่ายให้ผู้ป่วยได้
2. สามารถใช้ฟันของผู้ป่วย เพราะปกติจะต้องใช้กระดูกในส่วนอื่นของร่างกาย
3. ผ่านการทดสอบทางคลีนิคแล้ว
4. เพื่อใช้เป็นวัสดุทดแทนและเหนี่ยวนำการสร้างกระดูกฟัน
โดยใช้ฟันของผู้ป่วยเอง เพื่อหลีกเลี่ยงการไม่เข้ากันของโปรตีน
คีย์เวิร์ด
-
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 20/06/2560