กรรมวิธีการเตรียมสารสกัดไพลที่มีสารกลุ่มฟีนิลบิวทานอยด์และสูตรแผ่นแปะแก้ปวดจากสารสกัดจากไพลที่ใช้สารเมือกจากเมล็ดแมงลักเป็นสารก่อฟิล์ม
ปัจจุบันทั่วโลกมีการนำสมุนไพรมาใช้ประโยชน์
รวมถึงใช้เป็นยารักษาโรคอย่างแพร่หลาย ประเทศ ไทยนิยมนำไพล (Zingiber
cassumunar) มาใช้ในการบรรเทาอาการปวด เคล็ด ขัดยอก โดยมีต
ารับยาที่ เตรียมจากนำมันไพลในรูปแบบของครีม อย่างไรก็ตาม ปริมาณตัวยาสำคัญในครีมไพลจะส่งผลต่อคุณภาพการ
รักษา กล่าวคือ ถ้ามากไป จะก่อให้เกิดการระคายเคือง แต่ถ้าน้อยไปจะทำให้ประสิทธิภาพการรักษาต่ำลง
รายละเอียดโดยย่อ:
แผ่นแปะแก้ปวดนี้พัฒนามาจากสารสกัดไพลที่มีสารสำคัญในกลุ่มฟีนิลบิวทานอยด์ (phenylbutanoids)
ซึ่งมีฤทธิ์แก้ปวดและต้านการอักเสบของกล้ามเนื้อ
ด้วยวิธีการสกัดที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อม (Green Extraction) และใช้สารเมือกจากเมล็ดแมงลักเป็นสารก่อฟิล์ม
จึงไม่ก่อให้เกิดอาการ ระคายเคืองแก่ผิวหนัง รวมถึงสามารถควบคุมให้แผ่นแปะมีคุณภาพในการรักษาได้เหมือนกันทุกครั้งที่ผลิต
นอกจากนี้ กรรมวิธีการผลิตแผ่นแปะทั้งหมดยังเป็นกรรมวิธีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
(Green Pharmacy) ช่วยประหยัดพลังงานและลดระยะเวลาการผลิตด้วย
กลุ่มอุตสาหกรรม
ยา/สมุนไพร/เทคโนโลยีชีวภาพพ/วิทยาศาสตร์ทางการแพทย์
ประเภททรัพย์สินทางปัญญา
สิทธิบัตรการประดิษฐ์
เลขที่คำขอ
1601007670
วันที่ยื่นคำขอ
16/12/3102
เลขทะเบียน
-
ผู้ทรงสิทธิ
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
แหล่งทุน
-
ผู้ประดิษฐ์ และหน่วยงานต้นสังกัด
1. รศ. ดร.ภก.ภาคภูมิ พาณิชยูปการนันท์ 2. นางสาวนิติมา บินดุเหล็ม
3. นางสาวอาพาภรณ์ แก้วชูทอง
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
จุดเด่นนวัตกรรม
1. เป็นแผ่นแปะแก้ปวดที่พัฒนามาจากการเตรียมสารสกัดไพลด้วยวิธีการสกัดที่เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อม (Green Extraction)
2. มีการควบคุมปริมาณสาระสำคัญที่ออกฤทธิ์แก้ปวดและต้านการอักเสบของกล้ามเนื้อในสารสกัด ไพล ทำให้แผ่นแปะที่เตรียมได้มีปริมาณสารสำคัญเพียงพอต่อการออกฤทธิ์รักษาอาการปวดอักเสบกล้ามเนื้อ
3. ไม่ก่อให้เกิดอาการระคายเคืองแก่ผิวหนัง
คีย์เวิร์ด
-
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 20/57/2560