การบำบัดน้ำเสียจากแหล่งโรงงานอุตสาหกรรมและชุมชนโดยกระบวนการทางชีวภาพด้วยสาหร่ายและไรแดง
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตปัตตานี ร่วมกับสำนักทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดปัตตานี มีแนวคิดการใช้ประโยชน์จากน้ำทิ้งโรงงานอุตสาหกรรมการเกษตรและการประมงในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
เพื่อเพิ่มมูลค่าและลดปัญหาการปล่อยของเสียสู่สิ่งแวดล้อมการนำน้ำเสียจากอุตสาหกรรมการเกษตรเนื่องจากอุตสาหกรรมหลักของพื้นที่ภาคใต้
ในกระบวนการผลิตนั้นนอกจากจะได้ผลิตภัณฑ์ที่ต้องการแล้ว
ยังมีเศษวัสดุอินทรีย์เหลือใช้ที่เกิดจากการผลิตปะปนออกมาจากน้ำเสียอีกด้วย
น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการแปรรูปผลิตภัณฑ์การเกษตร
ปศุสัตว์ การประมงและการเพาะเลี้ยง รวมไปถึงน้ำเสียที่เกิดจากแหล่งชุมชนและบ้านเรือน
สามารถนำไปผ่านกระบวนการบำบัดด้วยวิธีการทางชีวภาพ โดยผ่านกระบวนการของจุลินทรีย์
สาหร่ายเซลล์เดียว และแพลงก์ตอนสัตว์ได้ตามลำดับ โดยจุลินทรีย์ทำหน้าที่ย่อยสลายสารอินทรีย์ที่มีโมเลกุลใหญ่ให้มีขนาดเล็ก
หลังจากนั้น สาหร่ายเซลล์เดียวจะนำของเสียที่ถูกย่อยสลายแล้วก่อนหน้านี้
ไปใช้เป็นปุ?ยเพื่อการเติบโต เมื่อถึงขั้นตอนนี้ ของเสียที่มีอยู่ในน้ำจะถูกบำบัดไปจนเกือบหมดด้วยสาหร่ายเซลล์เดียว
หลังจากนั้น จึงเข้าสู่กระบวนการบำบัดน้ำเสียขั้นสุดท้าย
คือการกำจัดสาหร่ายเซลล์เดียวออกจากน้ำด้วยไรแดง ผลผลิตสุดท้ายจากกระบวนการบำบัดคือ
น้ำที่มีคุณภาพดีขึ้น พร้อมปล่อยออกสู่แหล่งน้ำภายนอก หรือสามารถนำไปเก็บกักไว้สำหรับเวียนกลับนำไปใช้ในการทำความสะอาดภายในโรงงานใหม่ได้อีกครั้งหนึ่ง
สำหรับผลผลิตไรแดงที่ได้สามารถนำไปใช้ประโยชน์เพื่อเป็นอาหารสัตว์น้ำ หรือปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ
เพื่อช่วยสร้างความอุดมสมบูรณ์ และความยั่งยืนให้กับแหล่งน้ำตามธรรมชาติต่อไป
กลุ่มอุตสาหกรรม
พลังงานทดแทน/รีไซเคิล/สิ่งแวดล้อม
ประเภททรัพย์สินทางปัญญา
สิทธิบัตรการประดิษฐ์
เลขที่คำขอ
-
วันที่ยื่นคำขอ
-
เลขทะเบียน
-
ผู้ทรงสิทธิ
-
แหล่งทุน
-
ผู้ประดิษฐ์ และหน่วยงานต้นสังกัด
1.
ผศ.ดร.ชลธี
ชีวะเศรษฐธรรม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2. ผศ.ดร.วิไลรัตน์ ชีวะเศรษฐธรรม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
จุดเด่นนวัตกรรม
1. กระบวนการบำบัดน้ำเสียเป็นกระบวนการทางชีวภาพด้วยสาหร่ายและไรแดง
2.
ช่วยให้ลดต้นทุนในการบำบัดน้ำเสียด้วยไฟฟ้า
3.
ผลพลอยได้จากกระบวนการคือไรแดง สามารถนำไปจำหน่ายเชิงณิชย์ หรือเป็นอาหารสัตว์น้ำได้
คีย์เวิร์ด
-
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 18/06/2561